14/11/62

Local Sound, Exhibition

"Local Sound" Art Exhibition,
People's Gallery, Bangkok Art and Culture Centre [BACC]
Multimedia Art โดยกลุ่ม หจก.แผ่นดินทอง

         ความเชื่อ (Hope) ของชาวอีสานในเรื่องของฤดูกาลและความเป็นไปใน
ธรรมชาติเช่น ภัยแล้ง ฝนตก น้ำท่วม ความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น เป็นผลมาจาก 
เทวดาที่ชาวอีสานเรียกว่า “แถน” ความเชื่อนี้ในอดีตมีความเชื่อมโยงกับโลกทัศน์
ในการมองโลกผ่านประเพณีที่เกี่ยวกับการบูชาแถน เชื่อว่าแถนคือผู้กำหนดให้
ผู้คนชาวอีสานมีความเป็นอยู่ที่ดี ชาวอีสานจึงมองแถนเป็นเหมือนผู้มาช่วยเหลือ
เยียวยารักษาภัยแล้ง และทำให้ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อนี้ทำให้ชาวอีสาน
รักและบูชาพื้นที่เพราะปลูก บูชาป่า บูชาน้ำ บูชาฟ้า เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ให้ชีวิต 
และมีบุญคุณต่อชาวอีสาน การดำรงอยู่ของความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่อดีตโบราณ 
ความหวังของชาวอีสานได้ปรับเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กับการมองโลกทัศน์ในแบบใหม่ 
เมื่อพื้นที่ของอีสานได้ถูกสร้างให้เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ การเพาะปลูกและการ
เกษตรแบบดั้งเดิมได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกเพื่อการค้าขายและเน้นการ
ผลิตให้ได้จำนวนมาเพื่อการส่งขายไปยังส่วนกลาง จากการดำรงชีพแบบพอเพียง 
ทำนาข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตเพียงเพื่องใช้กินในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนกับ
เพื่อนบ้าน ปัจจุบันชาวอีสานได้มุ่งหวังทำนาเพื่อที่จะส่งขายให้ได้เงินมา การเร่ง
ที่จะผลิตและการเน้นการส่งขายเป็นผลให้เกิดผลกระทบทางด้านสภาพพื้นที่
ตามมามีการใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต การใช้ต้นทุนที่สูง หากแต่การขายข้าว
ถูกกำหนดราคาด้วยพ่อค้าคนกลางหรือนายทุนทำให้ชาวนาอีสานต้องตกอยู่ใน
สภาวะที่ลงทุนมาก ลงแรงมาก แต่ได้ผลตอบแทนที่น้อย และยังเกิดผลกระทบ
อื่น ๆ ตามมา เช่น บางครอบครัวต้องทำการกู้เงินมาลงทุน ทำให้เป็นหนี้สิน 
ผลตามมาก็คือต้องเอาที่ดินที่มีอยู่ไปจำนอง ไปขายเพื่อให้ได้เงินมาใช้หนี้ 
บางรายถึงขั้นขายทุกอย่างแล้วทิ้งอาชีพเกษตรกรไว้เบื้องหลัง ปรับเปลี่ยนอาชีพ
ไปเลยก็มี ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่จากความเชื่อเดิมที่การทำ
การเกษตรแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นความคาดหวังในผู้นำก็คือ
รัฐบาลกลาง อาจจะเนื่องด้วยการให้คำมั่นสัญญาและการให้ “ความหวัง” แก่ชาว
อีสานเพียงแค่มองพื้นที่ของภาคอีสานเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่ได้มอง
ลึกเข้าไปยังความต้องการที่แท้จริง จึงขาดความเข้าใจ และเกิดผลกระทบจาก
นโยบายต่าง ๆ ที่รัฐพยายามให้ภาคอีสานกลายเป็นเพียงแค่ “พื้นที่” ที่ไร้ตัวตน

การสร้างสรรค์ผลงานในชุดนี้เป็นรูปแบบศิลปะจัดวาง (Installation Art) โดยการ
จัดวางสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนของอิฐดินเผาที่มี
การสร้างรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่มีที่มาจากระวางของแผนที่ทางอากาศ และ
ในขณะเดียวกันดินเผาก็แทนความเป็นดินของอีสานที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ระแหง 
ประกอบกับสีและพื้นผิวที่บ่งบอกถึงความกันดาลของพื้นที่ รูปทรงและสีโดยรวม
ของกระเบื้องดินเผาจะมีรูปทรงเป็นเนินสามเหลี่ยม แทนรูปทรงของความเชื่อแบบ
เดิมของชาวอีสานที่ถูกผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ในส่วนที่ 2 คือองค์ประกอบ
ของงานที่ใช้รูปแบบภาพวีดีโอแสดงการจุดบั้งไปและการเผาดินปืนซึ่งผู้สร้างสรรค์
ได้ทำการตัดต่อให้เกิดเป็นผลงานเพื่อช่วยเสริมความน่าสนใจและกระตุ้นการรับรู้
เป็นการทบทวนถึงความเชื่อเดิมของชาวอีสานและการตั้งคำถามถึงความคงอยู่ของ
ความเชื่อดังกล่าว ส่วนที่ 3 เป็นงาน 2 มิติบนเฟรมผ้าใบ ผู้สร้างสรรค์ใช้สำเนาโฉนด
ที่ดินของผู้สร้างสรรค์เองมาปรับเปลี่ยนรูปทรงภายในร่วมกับพื้นที่ของภาคอีสาน 
และตัวเลขที่มีความเชื่อมโยงกับเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละฉบับ รูปแบบ
ที่เกิดขึ้นบางแง่มุมอาจสะท้อนถึงผลกระทบที่เกิดกับพื้นที่ในการใช้สำเนาในงาน
ก็บ่งบอกถึงความไม่มีอยู่จริงของโฉนด ผู้สร้างสรรค์จึงใช้กระดาษถ่ายเอกสารเป็น
สำเนา องค์ประกอบของผลงานทั้ง 3 ส่วน ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อทำให้ผู้ดูผลงานมี
ความเข้าใจในผลงานภาพรวมทั้งหมด โดยผลงานแต่ละส่วนจะช่วยเสริมทางด้าน
ความหมายให้กับผู้ชม ผลงานจะแยกจากกันไม่ได้ หลักการนี้ผู้สร้างสรรค์ได้
ประยุกต์มาจากการใช้ทฤษฎีเกสตอลต์ (Gestalt Theory) คือการทำให้องค์รวม
มีความสำคัญมากกว่าส่วนย่อย การดูงานในแต่ละส่วนจึงไม่เป็นผลเท่ากับการดู
งานในภาพรวม












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น